วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Lrarning Record 14

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563



            นี้อาจารย์ได้แจกกระดาษให้กับนักศึกษาคนละ 2 แผ่น แล้วให้นักศึกษาทบทวนความรู้ที่เรียนมาท้งเทอม ว่ากิจกรรม 6 หลัก มีอะไรบ้าง แต่ละกิจกรรมเน้นเรืองอะไร



🏀🎵 6 กิจกรรมหลักสำหรับเด็กปฐมวัย

                    กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ        

                        กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึก

                       กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

                        กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

                        กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก

                        กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน





💦💦คำศัพท์อังกฤษ
1.Observe                  สังเกต 
2.Teaching course       หลักสูตรการสอน
3.Movement               การเคลื่อนไหว 
4. Experience             ประสบการณ์ 
5. Mind map               แผนผัง

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   : ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย

ประเมินเพื่อน    :  เพื่อนทุกคนกระตือรือร้นในการทำงาน

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายให้คำแนะนำในการทำสื่อต่างๆได้อย่างชัดเจน มีการสอนที่ชัดเจน 
                    เข้าใจได้ง่าย




Lrarning Record 13

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563



วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ 

💛พัฒนาการ
💛มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
💛ตัวบ่งชี้


      💛 พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ (maturity) ของอวัยวะ
ระบบต่างๆและตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆได้
อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่ม 
ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น


พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น ด้านดังนี้

1. พัฒนาการด้านร่างกาย

2. พัฒนาการด้านอารมณ์
3. พัฒนาการด้านสังคม
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา

 

พัฒนาการด้านร่างกาย
          -เด็กบังคับกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เด็กชอบปีนป่ายเตะบอล รักลูกบอล 
ชอบเล่นในสนาม เด็กสามารถขี่ จักรยานสามล้อได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา

          - เด็กเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างมีชีวิติ (Animism) เด็กชอบเล่นสมมุติ

โดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก แสดงท่าป้อนข้าวลูก 

อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต

          -เด็กเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดหมาย เด็กมักถามว่า “ทำไม” “ทำไมรถจึงวิ่ง” ฯลฯ

          -เด็กจะเชื่อมโยงปรากฏการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่าเป็นเหตุและเป็นผล

ซึ่งกันและกัน

 


พัฒนาการด้านอารมณ์

          เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว 

พอใจ เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น 

หรือทำร้ายตัวเองแสดงความอิจฉาเมื่อมีน้องใหม่เวลาเล่นสนุกๆก็จะแสดงความพอใจ 

แต่เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเด็กก็จะกลัว


พัฒนาการด้านสังคม

          เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น อาบน้ำ แต่งตัว ใ

ส่รองเท้าเอง บอกเวลาจะถ่ายได้ ถอดกางเกง เข้าห้องน้ำเอง 

และทำความสะอาดหลังขับถ่ายได้ - เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัว

เพื่อให้สังคมยอมรับ ทำตัวให้เข้ากลุ่มได้ รู้จักให้ รับ รู้จักผ่อนปรน 

รู้จักแบ่งปัน เด็กเรียนรู้จากคำสอน คำอธิบายและการกระทำของพ่อแม่ 

เด็กรู้สึกละอายใจเมื่อทำผิด เด็กเริ่มรู้จักเห็นใจ ผู้อื่น 

เมื่อเห็นแม่เสียใจเด็กอาจเอาตุ๊กตามาปลอบ เป็นต้น


พัฒนาการด้านสติปัญญา

ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย มีดังนี้

             - เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่ใช้สัญลักษณ์ได้ สามารถที่จะใช้สัญลักษณ์
แทนสิ่งของวัตถุและสถานที่ได้ มีทักษะการใช้ภาษาอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ 
สามารถที่จะอธิบายประสบการณ์ของตนได้ ดังนั้นควรจัดกิจกรรมให้เด็ก
มีโอกาสออกมาหน้าชั้น เล่าประสบการณ์ให้เพื่อนร่วมชั้นฟัง 
แต่ครูควรจะพยายามส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากัน

             - เด็กวัยนี้สามารถที่จะวาดภาพพจน์ในใจได้ การใช้ความคิดคำนึง
หรือการสร้างจินตนาการและการประดิษฐ์ เป็นลักษณะพิเศษของเด็กในวัยนี้ 
ถ้าครูจะส่งเสริมให้เด็กใช้การคิดประดิษฐ์ในการเล่าเรื่อง หรือการวาดภาพ 
ก็จะช่วยพัฒนาการด้านนี้ของเด็กแต่บางครั้งเด็กอาจจะไม่สามารถแยกสิ่งที่ตนสร้าง
จากความคิดคำนึงจากความจริง ครูจะต้องพยายามช่วย 
แต่ไม่ควรจะใช้การลงโทษเด็กว่าไม่พูดความจริง เพราะจะทำให้เป็นการทำลาย
ความคิดคำนึงของเด็กโดยทางอ้อม

        -เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีความตั้งใจทีละอย่าง หรือยังไม่มีความสามารถที่จะพิจารณา
หลาย ๆ อย่างผสม ๆ กัน เด็กจะไม่สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลาย ๆ อย่างปนกัน
ยกตัวอย่างการแบ่งกลุ่มของวัตถุที่มีรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ กัน
เช่น สามเหลี่ยม วงกลม ฯลฯ จะต้องแบ่งโดยใช้รูปร่างอย่างเดียว 
เช่น สามเหลี่ยมอยู่ด้วยกัน และวงกลมอยู่กลุ่มเดียวกัน 
ถ้าผู้ใหญ่จะรวมวงกลมและสามเหลี่ยมผสมกัน โดยยึดสีเดียวกันเป็นเกณฑ์ 
เด็กวัยนี้จะไม่เห็นด้วย

             -ความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับการเปรียบเทียบน้ำหนัก ปริมาตร และความยาว

 ยังค่อนข้างสับสน เด็กยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความคงตัวของสสาร 

ความสามารถในการจัดลำดับ การตัดสินใจของเด็กในวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้ 

ยังไม่รู้จักใช้เหตุผล ครูที่สอนเด็กในวัยนี้จะสามารถช่วยเด็กให้มีพัฒนาการทางสติปัญญา 

ส่งเสริมให้เด็กมี สมรรถภาพ โดยพยายามเปิดโอกาสให้เด็กวัยนี้มีประสบการณ์

ค้นคว้าสำรวจสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับครู 

และเพื่อนในวัยเดียวกัน และพยายามให้ข้อมูลย้อนกลับเวลาที่เด็กทำถูกหรือประสบผลสำเร็จ 

และพยายามตั้งความคาดหวัง


💛มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

      หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 

จำนวน ๑๒ มาตรฐาน ประกอบด้วย

        ๑.พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐานคือ

           มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

          มาตรฐานที่๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

        ๒.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

            มาตรฐานที่ ๓  มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

            มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

             มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

        ๓.พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐานคือ

            มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

            มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

            มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็น

สมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

        ๔.พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐานคือ

              มาตรฐานที่ ๙  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

              มาตรฐานที่ ๑๐ มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้

              มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

          มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถใน

การแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

💛ตัวบ่งชี้

          ตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้อง

กับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

สภาพที่พึงประสงค์

          สภาพที่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถตามวัยที่

คาดหวังให้เด็กเกิดบนพื้นฐานพัฒนาการตามวัยหรือความสามารถ

ตามธรรมชาติในแต่ละระดับอายุเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดสาระเรียนรู้ใน 

การจัดประสบการณ์ กิจกรรมและประเมินพัฒนาการเด็ก 

โดยมีรายละเอียดของมาตรฐาน 

💚มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ และสภาพที่พึงประสงค์ ดังนี้     

 มาตรฐานที่ ๑ ร่างการเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑.๑ มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

-น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

-น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

-น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของกรมอนามัย

๑.๒ มีสุขภาพอนามัย

      สุขนิสัยที่ดี

๑.๒.๑ ยอมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำที่สะอาดเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑.๒.๑ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำสะอาดด้วยตนเอง

๑.๒.๑ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้หลายชนิดและดื่มน้ำสะอาดได้ด้วยตนเอง

๑.๒.๒ ล้างมือก่อน  รับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำ   ห้องส้วมเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑.๒.๒ ล้างมือ       ก่อน รับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วมด้วยตนเอง

๑.๒.๒ ล้างมือ

ก่อนรับประทานอาหารและหลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วมด้วยตนเอง

๑.๒.๓ นอนพักผ่อนเป็นเวลา

๑.๒.๓ นอนพักผ่อนเป็นเวลา

๑.๒.๓ นอนพักผ่อนเป็นเวลา

๑.๒.๔ ออกกำลังกายเป็นเวลา

๑.๒.๔ ออกกำลังกายเป็นเวลา

๑.๒.๔ ออกกำลังกายเป็นเวลา

๑.๓ รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น                  

๑.๓.๑ เล่นและทำ  กิจกรรมอย่างปลอดภัยเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑.๓.๑ เล่นและทำ  กิจกรรมอย่างปลอดภัยด้วยตนเอง

๑.๓.๑ เล่น ทำกิจกรรมและปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย

มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๒.๑ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้

๒.๑.๑ เดินตามแนวที่กำหนดได้

๒.๑.๑ เดินต่อเท้าไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงได้โดยไม่ต้องกางแขน

๒.๑.๑ เดินต่อเท้าถอยหลังเป็นเส้นตรงได้โดยไม่ต้องกางแขน

๒.๑.๒ กระโดดสองขาขึ้นลงอยู่กับที่ได้

๒.๑.๒ กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้โดยไม่เสีย การทรงตัว

๒.๑.๒ กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียการทรงตัว

๒.๑.๓ วิ่งแล้วหยุดได้

๒.๑.๓ วิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้

๒.๑.๓ วิ่งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างคล่องแคล่ว

๒.๑.๔ รับลูกบอลโดยใช้มือและลำตัวช่วย

๒.๑.๔ รับลูกบอลโดยใช้มือทั้งสองข้าง

๒.๑.๔ รับลูกบอลที่กระตอบขึ้นจากพื้นได้

๒.๒ ใช้มือ-ตา ประสานสัมพันธ์กัน

๒.๒.๑ ใช้กรรไกรตัดกระดาษขาดจากกันได้โดยใช้มือเดียว

๒.๒.๑ ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้

๒.๒.๑ ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งได้

๒.๒.๒ เขียนรูปวงกลมตามแบบได้

๒.๒.๒ เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้อย่างมีมุมชัดเจน

๒.๒.๒ เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้อย่างมีมุมชัดเจน

๒.๒.๓ ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ ชม. ได้

๒.๒.๓ ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๕ ชม. ได้

๒.๒.๓ ร้อยวัสดุที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๒๕ ชม. ได้

 มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๓.๑ แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

๓.๑.๑ แสดงอารมณ์

ความรู้สึกได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์

๓.๑.๑ แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ตาม สถานการณ์

๓.๑.๑ แสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม

๓.๒ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

๓.๒.๑ กล้าพูดกล้าแสดงออก

๓.๒.๑ กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมบางสถานการณ์

๓.๒.๑ กล้าพูดกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์

๓.๒.๒ แสดงความพอใจในผลงานตนเอง

๓.๒.๒ แสดงความพอใจในผลงานและความสามารถของตนเอง

๓.๒.๒ แสดงความพอใจในผลงานและความสามารถของตนเองและผู้อื่น

 มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๔.๑ สนใจ มีความสุขและแสดงออกผ่านงานศิลปะ  ดนตรี และการเคลื่อนไหว

๔.๑.๑ สนใจ มีความสุข และแสดงออกผ่านงานศิลปะ

๔.๑.๒ สนใจ มีความสุข และแสดงออกผ่านเสียงเพลง ดนตรี

๔.๑.๓ สนใจ มีความสุข และแสดงท่าทาง/เคลื่อนไหว ประกอบเพลง จังหวะ และดนตรี

 มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๕.๑ ซื่อสัตย์สุจริต

๕.๑.๑ บอกหรือชี้ได้ว่าสิ่งใดเป็นของตนเองและสิ่งใดเป็นของผู้อื่น

๕.๑.๑ ขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อต้องการสิ่งของของผู้อื่นเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๕.๑.๑ ขออนุญาตหรือรอคอยเมื่อต้องการสิ่งของของผู้อื่นด้วยตนเอง

๕.๒ มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน

๕.๒.๑ แสดงความรัก

เพื่อนและมีเมตตา  สัตว์เลี้ยง

๕.๒.๑ แสดงความรักเพื่อนและมีเมตตา

สัตว์เลี้ยง

๕.๒.๑ แสดงความรัก

เพื่อนและมีเมตตา สัตว์เลี้ยง

๕.๓ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

๕.๓.๑ แสดงสีหน้าหรือท่าทางรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น

๕.๓.๑ แสดงสีหน้าและท่าทางรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น

๕.๓.๑ แสดงสีหน้าและท่าทางรับรู้ความรู้สึกผู้อื่นอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์

๕.๔ มีความรับผิดชอบ

๕.๔.๑ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ เมื่อมีผู้ช่วยเหลือ

๕.๔.๑ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๕.๔.๑ ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จด้วยตนเอง

 มาตรฐานที่ ๖มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๖.๑ ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

๖.๑.๑ แต่งตัวโดยมีผู้ช่วยเหลือ

๖.๑.๑ แต่งตัวด้วยตนเอง

๖.๑.๑ แต่งตัวด้วยตนเองได้อย่างคล่องแคล่ว

๖.๑.๒ รับประทานอาหารด้วยตนเอง

๖.๑.๒ รับประทานอาหารด้วยตนเอง

๖.๑.๑ รับประทานอาหารด้วยตนเองอย่างถูกวิธี

๖.๑.๓ ใช้ห้องน้ำห้องส้วม โดยมีผู้ช่วยเหลือ

๖.๑.๓ ใช้ห้องน้ำห้องส้วมด้วยตนเอง

๖.๑.๓ ใช้และทำความสะอาดหลังใช้ห้องน้ำห้องส้วม ด้วยตนเอง


ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๖.๒ มีวินัยในตนเอง

๖.๒.๑ เก็บของเล่นของใช้เข้าที่เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๖.๒.๑ เก็บของเล่นของใช้เข้าที่ด้วยตนเอง

๖.๒.๑ เก็บของเล่นของใช้เข้าที่อย่างเรียบร้อยด้วยตนเอง

๖.๒.๒ เข้าแถวตามลำดับก่อนหลังได้เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๖.๒.๒ เข้าแถวตามลำดับก่อนหลังได้ด้วยตนเอง

๖.๒.๒ เข้าแถวตามลำดับก่อนหลังได้ด้วยตนเอง

๖.๓ ประหยัดและพอเพียง

๖.๓.๑ ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียง เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๖.๓.๑ ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียง เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๖.๓.๑ ใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่างประหยัดและพอเพียง ด้วยตนเอง

 มาตรฐานที่ ๗รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความเป็นไทย

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๗.๑ ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๗.๑.๑ มีส่วนร่วมดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๗.๑.๑ มีส่วนร่วมดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๗.๑.๑ ดูแลรักษา

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง

๗.๑.๒ ทิ้งขยะได้ถูกที่

๗.๑.๒ ทิ้งขยะได้ถูกที่

๗.๑.๒ ทิ้งขยะได้ถูกที่

๗.๒ มีมารยาทตาม

 วัฒนธรรมไทย

และรักความเป็น

ไทย

๗.๒.๑ ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้เมื่อมี

ผู้ชี้แนะ

๗.๒.๑ ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้ด้วยตนเอง

๗.๒.๑ ปฏิบัติตนตามมารยาทไทยได้ตามกาลเทศะ

๗.๒.๒ กล่าวคำขอบคุณและขอโทษเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๗.๒.๒ กล่าวคำขอบคุณและขอโทษด้วยตนเอง

๗.๒.๒ กล่าวคำขอบคุณและขอโทษด้วยตนเอง

๗.๒.๓ หยุดยืนเมื่อได้ยินเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมี

๗.๒.๓ ยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญ

พระบารมี

๗.๒.๓ ยืนตรงและร่วมร้องเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญ

พระบารมี

มาตรฐานที่๘อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ 

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๘.๑ ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล

๘.๑.๑ เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่แตกต่างไปจากตน

๘.๑.๑ เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่แตกต่างไปจากตน

๘.๑.๑ เล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กที่แตกต่างไปจากตน

๘.๒ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

๘.๒.๑ เล่นร่วมกับเพื่อน

๘.๒.๑ เล่นหรือทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นกลุ่ม

๘.๒.๑ เล่นหรือทำงานร่วมมือกับเพื่อนอย่างมีเป้าหมาย

๘.๒.๒ ยิ้มหรือทักทายผู้ใหญ่และบุคคลที่คุ้นเคย เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๘.๒.๒ ยิ้ม ทักทายหรือพูดคุยกับผู้ใหญ่และบุคคลที่คุ้นเคยได้ด้วยตนเอง

๘.๒.๒ ยิ้ม ทักทายและพูดคุยกับผู้ใหญ่และบุคคลที่คุ้นเคยได้เหมาะสมกับสถานการณ์

๘.๓ ปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

๘.๓.๑ ปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๘.๓.๑ มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลงและปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อมี      ผู้ชี้แนะ

๘.๓.๑ มีส่วนร่วมสร้างข้อตกลงและปฏิบัติตามข้อตกลงด้วยตนเอง

๘.๓.๒ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามเมื่อมี    ผู้ชี้แนะ

๘.๓.๒ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้ด้วยตนเอง

๘.๓.๒ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้เหมาะสมกับสถานการณ์

๘.๓.๓ ยอมรับการประนีประนอมแก้ไขปัญหาเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๘.๓.๓ ประนีประนอมแก้ไขปัญหาโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง เมื่อมีผู้ชี้แนะ

๘.๓.๓ ประนีประนอมแก้ไขปัญหาโดยปราศจากการใช้ความรุนแรงด้วยตนเอง

 มาตรฐานที่ ๙ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๙.๑ สนทนาโต้ตอบ

      และเล่าเรื่องให้

      ผู้อื่นเข้าใจ

๙.๑.๑ ฟังผู้อื่นพูดจนจบและพูดโต้ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง

๙.๑.๑ ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนาโต้ตอบสอดคล้องกับเรื่องที่ฟัง

๙.๑.๑ ฟังผู้อื่นพูดจนจบและสนทนาโต้ตอบอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกับเรื่องที่ฟัง

๙.๑.๒ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆ

๙.๑.๒ เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง

๙.๑.๒ เล่าเป็นเรื่องราวต่อเนื่องได้


ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๙.๒ อ่าน เขียนภาและสัญลักษณ์ได้

๙.๒.๑ อ่านภาพ และพูดข้อความด้วยภาษาของตน

๙.๒.๑ อ่านภาพ สัญลักษณ์ คำ พร้อมทั้งชี้หรือกวาดตามองข้อความตามบรรทัด

๙.๒.๑ อ่านภาพสัญลักษณ์ คำ ด้วยการชี้หรือกวาดตามอง จุดเริ่มต้นและจุดจบของข้อความ

๙.๒.๒ เขียนขีดเขี่ย อย่างมีทิศทาง

๙.๒.๒ เขียนคล้ายตัวอักษร

๙.๒.๒ เขียนชื่อของตนเองตามแบบ เขียนข้อความด้วยวิธีที่คิดขึ้นเอง

 มาตรฐานที่ ๑๐มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑๐.๑ มีความสามารถ ในการคิดรวบยอด

๑๐.๑.๑ บอกลักษณะของสิ่งต่างๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส

๑๐.๑.๑ บอกลักษณะ และส่วนประกอบของสิ่งต่างๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส

๑๐.๑.๑ บอกลักษณะส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงหรือความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัส

๑๐.๑.๒ จับคู่หรือเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ โดยใช้ลักษณะหรือหน้าที่การใช้งานเพียงลักษณะเดียว

๑๐.๑.๒ จับคู่และเปรียบเทียบความแตกต่างหรือความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยใช้ลักษณะที่สังเกตพบเพียงลักษณะเดียว

๑๐.๑.๒ จับคู่และเปรียบเทียบความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยใช้ลักษณะที่สังเกตพบสองลักษณะขึ้นไป

๑๐.๑.๓ คัดแยก      สิ่งต่างๆ ตามลักษณะหรือหน้าที่การใช้งาน

๑๐.๑.๓ จำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ โดยใช้อย่างน้อยหนึ่งลักษณะเป็นเกณฑ์

๑๐.๑.๓ จำแนกและจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ โดยใช้ตั้งแต่สองลักษณะขึ้นไปเป็นเกณฑ์

๑๐.๑.๔ เรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างน้อย ๓ ลำดับ

๑๐.๑.๔ เรียงลำดับสิ่งของหรือเหตุการณ์ อย่างน้อย ๔ ลำดับ

๑๐.๑.๔ เรียงลำดับสิ่งของและเหตุการณ์อย่างน้อย ๕  ลำดับ


ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑๐.๒ มีความสามารถ ในการคิดเชิงเหตุผล

๑๐.๒.๑ ระบุที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑๐.๒.๑ ระบุสาเหตุหรือผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำเมื่อมีผู้ชี้แนะ

๑๐.๒.๑ อธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำด้วยตนเอง

๑๐.๒.๒ คาดเดา หรือคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น

๑๐.๒.๒ คาดเดา หรือคาดคะเน สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น หรือมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูล

๑๐.๒.๒ คาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล

๑๐.๓ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ

๑๐.๓.๑ ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ

๑๐.๓.๑ ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ และเริ่มเรียนรู้ผลที่เกิดขึ้น

๑๐.๓.๑ ตัดสินใจในเรื่องง่ายๆ และยอมรับผลที่เกิดขึ้น

๑๐.๓.๒ แก้ปัญหาโดยลองผิดลองถูก             

๑๐.๓.๒ ระบุปัญหา และแก้ปัญหาโดยลองผิดลองถูก

๑๐.๓.๒ ระบุปัญหาสร้างทางเลือกและเลือกวิธีแก้ปัญหา

 มาตรฐานที่ ๑๑มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑๑.๑ ทำงานศิลปะ

ความจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

๑๑.๑.๑ สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเอง

๑๑.๑.๑ สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองโดยมีการดัดแปลง และแปลกใหม่จากเดิมหรือมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น

๑๑.๑.๑ สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองโดยมีการดัดแปลงแปลกใหม่จากเดิม และมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น

๑๑.๒ แสดงท่าทาง/เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์

๑๑.๒.๑ เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเอง

๑๑.๒.๑ เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองอย่างหลากหลายหรือแปลกใหม่

๑๑.๒.๑ เคลื่อนไหวท่าทางเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเองอย่างหลากหลายและแปลกใหม่

มาตรฐานที่ ๑๒มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้

สภาพที่พึงประสงค์

อายุ ๓ ปี

อายุ ๔ ปี

อายุ ๕ ปี

๑๒.๑ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

๑๒.๑.๑ สนใจฟังหรืออ่านหนังสือด้วยตนเอง

๑๒.๑.๑ สนใจซักถามเกี่ยวกับสัญลักษณ์หรือตัวหนังสือที่พบเห็น

๑๒.๑.๑ สนใจหยิบหนังสือมาอ่านและเขียนสื่อความคิดด้วยตนเองเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

๑๒.๑.๒ กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม

๑๒.๑.๒ กระตือรือร้น ในการเข้าร่วมกิจกรรม

๑๒.๑.๒ กระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ

๑๒.๒ มีความสามารถในการแสวงหาความรู้

๑๒.๒.๑ ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ตามวิธีการที่มีผู้ชี้แนะ

๑๒.๒.๑ ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ตามวิธีการของตนเอง

๑๒.๒.๑ ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ โดยใช้วิธีการที่หลากหลายด้วยตนเอง

๑๒.๒.๒ ใช้ประโยคคำถามว่า “ใคร” “อะไร” ในการค้นหา

๑๒.๒.๒ ใช้ประโยคคำถามว่า “ที่ไหน” “ทำไม” ในการค้นหาคำตอบ

๑๒.๒.๒ ใช้ประโยคคำถามว่า “เมื่อไร” “อย่างไร” ในการค้นหาคำตอบ



💚💙คำศัพท์

Activity                    กิจกรรม

Activation                การเคลื่อนไหว

Beat                       จังหวะ

Pattern                    รูปแบบ

Agreement               ข้อตกลง

 การประเมิน

ประเมินตนเอง : รับผิดชอบต่องาน ตั้งใจฟังและจดบันทึกการเรียนรู้ ให้ความร่วมมือในกิจกรรม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีส่วนร่วมในกิจกรรม สนุกสนาน

ประเมินอาจารย์ : ให้ความรู้เพิ่มเติม สอนวิธีการสอนต่างๆ

Lrarning Record 14

  บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563                นี้อาจารย์ได้แจกกระดาษให้กับนักศึกษาคนละ 2 แผ่น แล้วให้นักศึกษาทบทวนความ...