Lrarning Record 1

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วันที่ 17 สิงหาคม 2563



    วันนี้เป็นวันแรกของการจัดการเรียนการสอนอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามโรงเรียนที่ออกสังเกตการณ์สอน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแชร์ประสบการณ์ที่ได้พบเจอระหว่างการสังเกตแต่ละโรงเรียนจะมีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนการสอนและรูปแบบการเรียนการสอน





🌱รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

🍬แนวการเรียนการสอนของโรงเรียนวอลดอร์ฟ

     เป็นแนวการศึกษาที่บูรณาการวิชาการไปกับกิจกรรรมต่างๆ โดยมีครูคอยดูแลและอำนวยความสะดวก เน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติทั้งในกลางแจ้งและในห้องเรียน โดยเชื่อว่าช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนไปกับโลกและสิ่งแวดล้อม และได้ใช้พลังงานทุกด้านอย่างพอเหมาะ



    การศึกษาแนววอลดอร์ฟนี้จึงเน้นเรื่องของการเชื่อมโยงมนุษย์กับจักรวาล โดยมีมุมมองว่า เด็กควรได้เล่นอย่างอิสระ ชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ เน้นการสอนให้รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก โดยผ่านกิจกรรม 3 อย่างคือ กิจกรรมทางกาย ผ่านอารมณ์ความรู้สึก และผ่านการคิด เน้นการให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ด้านศิลปะ และด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมา


🍬การจัดการเรียนรู้แบบ STAD

การจัดการเรียนรู้แบบ STAD หมายถึง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีชื่อเต็มว่า Student Teams Achievement Divisions เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนที่เรียนเก่ง คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง 2-3 คน และนักเรียนที่เรียนอ่อน คน ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

1. ขั้นนำเสนอเนื้อหา โดยการทบทวนพื้นฐานความรู้เดิม จากนั้นครูสอนเนื้อหาใหม่กับนักเรียน

กลุ่มใหญ่ทั้งชั้น

2. ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม โดยนักเรียนในกลุ่ม 4-5 คน ร่วมกันศึกษากลุ่มย่อยนักเรียนเก่ง

จะอธิบายให้นักเรียนอ่อนฟังและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำกิจกรรม

3. ขั้นทดสอบย่อย นักเรียนแต่ละคนจะทำแบบทดสอบด้วยตนเอง ไม่มีการช่วยเหลือกัน

4. คิดคะแนนความก้าวหน้าแต่ละคน และของกลุ่มย่อย ครูตรวจผลการสอบของนักเรียน 

โดยคะแนนที่นักเรียนทำได้ในการทดสอบจะถือเป็นคะแนนรายบุคคล แล้วนำคะแนนรายบุคคล

ไปแปลงเป็นคะแนนกลุ่ม

5. ชมเชย ยกย่อง บุคคลหรือกลุ่มที่มีคะแนนยอดเยี่ยม นักเรียนคนใดทำคะแนนได้ดีกว่าครั้ง

ก่อน จะได้รับคำชมเชยเป็นรายบุคคล และกลุ่มใดทำคะแนนได้ดีกว่าครั้งก่อนจะได้รับคำ

ชมเชยทั้งกลุ่ม

 


🍬การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach

เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน

 

🍬การสอนแบบภาษาธรรมชาติ (Whole Language)

 เป็นแนวการสอนแบบสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งเกิดจากหลักการและแนวคิดของนักการศึกษาและนักวิจัยทางภาษา ไม่ว่าจะเป็น ดิวอี้,เปียเจต์,ไวก๊อตสกี้ ฯลฯ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาการคิดและภาษาของเด็กปฐมวัยในทางด้านสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและเด็กปฐมวัย ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติ และเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย เมื่อนำหลักการเหล่านี้มาเป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการสอนภาษาจะทำให้เด็กเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ภาษาได้ดีขึ้น



แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

คือการที่เด็กเรียนรู้ภาษาได้จากสิ่งแวดล้อมรอบด้านในชีวิตประจำวันและการเลียนแบบ โดยการสอนภาษาธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น จะไม่เน้นให้เด็กต้องท่องตัวอักษรได้ ไม่เน้นการท่องจำเพื่อให้อ่านออกเขียนได้เหมือนการเรียนการสอนทั่วไป แต่จะพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆ กัน เช่น

1. ทักษะการฟัง

เด็กจะได้ฟังจากการเล่านิทาน ฟังเพลงนิทาน และเพลงต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะทางการฟังภาษา โดยจะต้องเป็นภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน และเมื่อเด็กฟังแล้วจะได้เชื่อมโยงสิ่งที่อยู่รอบตัวเข้ากับคำที่ได้ยิน เช่น ใช้ช้อนตักอาหารรับประทาน เด็กก็จะเชื่อมโยงคำว่าช้อนเข้ากับการใช้ช้อนตักอาหารรับประทาน เป็นต้น

 

การเล่านิทาน การสอนภาษาแบบธรรมชาติที่ช่วยพัฒนา ทักษะการฟัง เด็ก

สอนภาษาแบบธรรมชาติผ่านการเล่านิทาน

2. ทักษะการพูด การอ่าน

ผู้ปกครองหรือครูจะใช้คำถามเพื่อให้เด็กตอบและกล้าแสดงความคิดออกมาเป็นคำพูด อาจใช้การแสดงบทบาทสมมติกับเด็ก ๆ สลับกับการเล่านิทาน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เปิดหนังสือดูภาพและเล่าเรื่องจากภาพเอง ซึ่งสิ่งที่เด็กเล่าออกมา อาจมาจากจินตนาการของตัวเด็กเอง เนื้อเรื่องอาจไม่ได้ตรงตามหนังสือ แต่จะเน้นให้เด็กได้เห็นภาพและเชื่อมโยงออกมาเป็นคำพูด เพราะการอ่านและการพูดนั้นไม่มีถูกหรือผิด แต่ผู้ปกครองและคุณครูผู้ดูแลจะต้องคอยสนับสนุนให้เด็กกล้าใช้ภาษา และหากคำไหนพูดไม่ชัด ผิดเพี้ยน ผู้ปกครองและคุณครูก็จะช่วยแนะนำให้เด็กพูดตามได้ชัดเจนแบบค่อยเป็นค่อยไป

 

เด็กเล่านิทานผ่านจินตนาการของตัวเองช่วยพัฒนาทักษะการพูด การอ่าน

ให้เด็กเล่านิทานผ่านจินตนาการของตัวเอง

3. ทักษะการเขียน

เด็กจะได้วาดภาพตามจินตนาการหรือปฏิบัติตามคำสั่ง อาจทำเป็นงานเดี่ยวหรือทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เช่น การช่วยกันวาดภาพแต่งนิทานและเขียนเล่าเรื่องลงในภาพ อาจจะมีการสะกดคำง่าย ๆ ซึ่งไม่ใช่การท่องจำแต่จะเป็น การสอนในรูปประโยคที่ทำให้เด็กเชื่อมโยงไปสู่การฟัง การพูด และการอ่าน เช่น สอนคำว่า ข้าว จะไม่สอนแค่ ขอ สระอา วอ ขาว ไม้โท ข้าว แต่จะสอนว่าข้าวหมายถึงอะไร และยกตัวอย่างประโยคให้เด็กเข้าใจ เช่น ข้าวคือเมล็ดสีขาวเล็ก ๆ เป็นอาหารที่เด็ก ๆ รับประทานและมีประโยชน์ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่คำอื่น รวมถึงทำให้เด็กสร้างประโยคขึ้นเองได้ และจะค่อย ๆ เรียนรู้ความหมายและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องได้เองในที่สุด

 

🍬แนวการสอนแบบไฮสโคป  (High/Scope)

        การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคน  การเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็ว  การศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก  6  ขวบแรก  เป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแล  และสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  ด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัด  ลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็ก  ใจเด็ก  และอนาคตเด็ก

        การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้  แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ  พัฒนาสมรรถนะทางปัญญา  และพัฒนาจิตนิยมที่ดี  การเรียนการสอนสำหรับปฐมวัย มีหลากหลายรูปแบบ  แต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง  รูปแบบการเแนวคิดพื้นฐาน

            การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น  เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย ซึ่งจากแนวคิดนี้ ในการเรียนเด็กสามารถเลือกเรียนเลือกปฏิบัติจัดกระทำดำเนินการเรียนรู้และประเมินผลงานของตนเอง  เด็กจะได้รับการกระตุ้นจากครูให้คิดนำอุปกรณ์มากระทำหรือเล่นด้วยการวางแผนการทำงาน แล้วดำเนินตามแผนไว้ตามลำดับพร้อมแก้ปัญหาและทบทวนงานที่ทำด้วยการทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมีครูคอยให้กำลังใจ  ถามคำถาม  สนับสนุน และเพิ่มเติมสิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้




 

แนวคิดสำคัญ

        แนวการสอนแบบไฮ/สโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย  ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้นรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือ  รูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป


🍬การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori)

เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน

การสอนแบบมอนเตสซอรีเริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคนการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน

 

แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน

 

การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิตให้กับเด็ก

การถูบ้านช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต

หลักการสอนของมอนเตสซอรี่

เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย

 

จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง

ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ

การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน 

การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน

จากนั้นอาจารย์ก็มีเพลงใหม่ให้ร้องพร้อมกัน 2 เพลง


 เพลง มือกุมกันเพลง กุมมือ

    มือกุมกัน แล้วก็ยืนตรงๆ (ซ้ำ 2รอบ)  

 ยืนหนอ  ยืนหนอ  ยืนหนอ ยืนตรง

 

เพลง นั่งสมาธิ

นั่งขัดสมาดให้ดี สองมือวางทับกันทันที หลับตาตั้งตัวตรงสิ 

ตั้งสติให้ดี ภาวนาในใจ พุธโธ พุธโธ พุธโธ

กิจกรรมต่อไปอาจารย์ให้แบบกลุ่มตามโรงเรียนที่ออกสังเกต แบ่งกลุ่มมายแมปเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมประสบการณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจากสิ่งที่เรียนมา และทำความเข้าใจ เขียนเป็นแผนผังความคิดพร้อมสรุป 



หลังจากที่ทุกกลุ่มได้ทำแผนผังเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษาเก็บอุปกรณ์ต่างๆและเอางานของกลุ่มตัวเองไปติดไวับนกระดานพร้อมกับกลุ่มอื่น


พอทุกกลุ่มนำงานของตัวเองไปติดไว้บนกระดานเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้ถามนักศึกษาว่า "ถ้าเราจัดเรียงแบบนี้นักเรียนคิดว่าสมดุลไหม ถ้าเรียงใหม่จะทำออกมาแบบไหน" ซึงอาจารย์กำลงสอนให้เราคิดและแก้ไขปัญญาหา 


 

นักศึกษาเลือกที่จะจัดใหม่ โดยจัดวิธิเดียวกับการจัดแก้ว ซึ้ง ตรงฐานด้านล้าง 4 ข้างบน 3 


  🍭🍭🍭 คำศัพท์  🍭🍭🍭

การจัดการเรียนรู้แบบ             Project Approach

        การสอนแบบมอนเตสซอรี่         Montessori

        การสอนแบบภาษาธรรมชาติ      Whole Language

        การจัดการเรียนรู้แบบ             Project Approach

กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์  Constructive process of learning


🍦🍦 ประเมิน 🍦🍦

อาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจง่าย อธิบายหลายรอบเมื่อเด็กไม่เข้า 

           และถามแรกเปลี่ยนความรุ้กับนักศึกษาตลอด และอาจารย์แต่งตัวสุภาพ

ตนเอง  : ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายและเสร็จทันเวลาที่กำหนด 

           ทำงานร่วมกับเพื่อนได้อย่างเต็มที่

เพื่อน   : เพื่อนตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงานกลุ่ม ช้วยกันตอบคำถาท 

           และในการทำงานร่วมกัน

              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น